096-305-0765

กรามค้าง อ้าปากค้าง

กรามค้าง อ้างปากค้าง คนทั่วไปมักใช้คำว่าอ้าปากค้างหรือกรามค้างเพื่ออธิบาย 2 อาการ คือ

  1. อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้
  2. อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ

การอ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้ ทางการแพทย์เรียกว่า อ้าปากค้าง แต่เมื่ออ้าปากแล้วไม่สามารถอ้าปากได้กว้างตามปกติ เรียกว่า อ้าปากได้จำกัด หรือ อ้าปากไม่ขึ้น นั่นเอง

กรามค้างหรืออ้างปากค้าง เกิดจากอะไร

โดยทั่วไปเมื่อเราอ้าปากและหุบปาก ข้อต่อขากรรไกรที่อยู่บริเวณหน้ารูหูจะหมุนและเคลื่อนไปมาในเบ้ากระดูกซึ่งเป็นส่วนที่ติดกับกะโหลกศีรษะ

เมื่อเราอ้าปากหัวข้อต่อขากรรไกรและแผ่นรองข้อต่อขากรรไกร จะเคลื่อนออกจากเบ้ากระดูกเมื่อหุบปาก

เมื่ออ้าปากค้างหัวข้อต่อกรรไกรจะเคลื่อนพ้นเบ้ากระดูกออกมาขัดค้างอยู่นอกเบ้า และไม่สามารถ หุบปากลงได้ตามปกติ เช่นเมื่อหาวกว้างๆหัวเราะกว้าง ๆ อ้าปากกว้างเพื่อทำฟันนาน ๆ ซึ่งขณะเกิดอาการมักรู้สึกเจ็บปวดร่วมด้วย

เมื่อกรามค้างหรืออ้างปากค้าง ควรทำอย่างไร ?

เมื่ออ้าปากค้าง ต้องพยายามสงบใจและอย่าตกใจเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวเกร็งมากขึ้น และไม่สามารถจัดตำแหน่งขากรรไกรเข้าที่ได้ บางครั้งเมื่อผู้ป่วยพยายามขยับขากรรไกรไปมาหรือนวดคลึงบริเวณข้างแก้มเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อก็สามารถหุบปากได้ ลงได้เอง ทั้งนี้ห้ามตบหรือชกใบหน้าและขากรรไกร หรือพยายามหุบปากลงทั้งที่ข้อต่อขากรรไกรยังค้างอยู่ เพราะจะทำให้เจ็บมากขึ้น

หากลองรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ประสบผลสำเร็จควรรับการรักษาอย่างฉุกเฉินจากแพทย์ หรือทันตแพทย์ที่จะจัดขากรรไกรให้เข้าที่ได้ หากกล้ามเนื้อบดเคี้ยวของผู้ป่วยเกร็งมากผู้ป่วยอาจได้รับยาเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความกังวล ซึ่งจะเอื้อให้แพทย์และทันตแพทย์จัดขากรรไกรเข้าที่ได้ง่ายขึ้น

เมื่อสามารถหุบปากลงได้แล้ว ไม่ควรอ้าปากกว้าง ๆ อีก เพราะอาจทำให้อ้าปากค้างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออ้าปากค้างขณะทำฟัน สามารถประคบบริเวณหน้าหูหรือข้างแก้มด้วยน้ำเย็น เพื่อลดอาการเจ็บปวด ควรรับประทานอาหารอ่อนจนกว่าจะหายเจ็บ และถ้ายังเจ็บมากสามารถรับประทานยาต้านการอักเสบสักระยะได้

กรามค้าง อ้างปากค้าง มีการรักษาอย่างไร ?

ในผู้ป่วยที่อ้าปากค้างบ่อย ๆ ควรบริหารขากรรไกรโดยวางปลายลิ้นที่เพดานปากบริเวณเหงือกหลังฟันหน้าบน แล้วอ้าปากจนกว้างที่สุดโดยให้ปลายลิ้นยังแตะบริเวณนี้ตลอดเวลา ไม่ดันฟันหน้าเพราะอาจทำให้ฟันหน้ายื่น ค้างอยู่ในท่านี้ประมาณ 6 วินาที ทำซ้ำ 6 ครั้ง นับเป็น 1 รอบ ทำวันละ 6 รอบ ท่าบริหารนี้ จะเป็นการฝึกให้ผู้ป่วยอ้าปากอยู่ในวงจำกัดที่หัวข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนอยู่ภายในเบ้ากระดูก ผู้ป่วยจะรู้สึกอ้าปากได้แคบลง ซึ่งจะไม่ทำให้อ้าปากกว้างเกิดการจำกัด

เกร็ดความรู้ดูแลสุขภาพช่องปาก


ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com

เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน


Comments

comments