096-305-0765

แบร็คเก็ตหลุด ทำยังไงดี

แบร็คเก็ตหลุด เหล็กหลุด ยางจัดฟันหลุด กลืนอุปกรณ์จัดฟัน สารพัดปัญหาสุดคลาสสิกที่เหล่าคนจัดฟันมักจะพบกันบ่อย ๆ ก่อนถึงนัดพบหมอจัดฟัน เพราะโดยปกติแล้ว ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายล่วงหน้าให้คนไข้ไปพบที่คลินิกทันตกรรมในทุก ๆ เดือน แต่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น อย่าง แบร็กเก็ตหลุด ลวดทิ่มกระพุ้งแก้ม หรือกลืนอุปกรณ์จัดฟันลงไป คำถามต่อมาคือ เราควรรอให้ถึงวันนัด หรือ ควรไปพบทันตแพทย์ทันที 

วันนี้เด็นทัลพอยท์มีคำตอบค่ะ !

แบร็คเก็ตหลุด ทำยังไงดี ?

คนที่กำลังจัดฟัน หรือเคยผ่านการจัดฟันมาแล้ว คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับอุปกรณ์โลหะสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่มีชื่อเรียกว่า แบร็คเก็ต (Bracket) หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า ‘เหล็กจัดฟัน’ ซึ่งมันก็คือ หนึ่งในอุปกรณ์จัดฟันที่ทันตแพทย์ใช้กาวทางทันตกรรมชนิดพิเศษติดลงไปบนผิวเคลือบฟัน โดยใช้ลวด (Arch Wires) และยางจัดฟัน (O-ring) ทำหน้าที่เชื่อมแบร็คเก็ตแต่ละตัวบนฟันแต่ละซี่เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดกลไกในการเคลื่อนฟันไปในทิศทางและตำแหน่งที่ต้องการตามแผนการรักษาของทันตแพทย์

แต่หลาย ๆ ครั้ง เวลาที่เราเจอเมนูอาหารสุดโปรด โดยเฉพาะเมนูที่ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูของเหล็กจัดฟัน ทั้งหมากฝรั่งเอย เยลลี่เอย น่องไก่ทอดเอย หรือหมูกรอบเอย ก็มักจะอดใจไม่ไหวที่จะใช้ฟันกัดแทะโดยตรงแบบไม่ระวัง ซึ่งผลที่ตามมาคือ แบรคเกตหลุด เหล็กจัดฟันหลวม และเกิดความเสียหายตามมาได้

สิ่งที่ต้องทำเมื่อรู้ตัวว่า เหล็กดัดฟันหลุด

เสียง กึ๊ก! ดังขึ้น ขณะที่เรากำลังเคี้ยวอาหารอย่างเอร็ดอร่อย หลายคนก็คงจะรู้ทันทีเลยว่ามีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเหล็กดัดฟันของเราอย่างแน่นอน โดยสิ่งแรกที่ควรจะทำก็คือ ตั้งสติและพิจารณาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มีอะไรบ้าง เช่น 

แบร็คเก็ต หลุด ไหม ?

ถ้าหลุดแล้ว มีโอกาสที่จะ กลืนแบร็คเก็ตลงคอ หรือไม่ ?

มีปลายลวดยื่นออกมา จนทิ่มกระพุ้งแก้ม หรือเปล่า ?

มีลวดทิ่มกระพุ่งแก้ม จนเกิดบาดแผลในช่องปาก หรือไม่ ?

เมื่อสำรวจตัวเองครบแล้ว มาดูวิธีการดูแลตัวเองในแต่ละกรณีกันเลยค่ะ

  • กรณีแบร็คเก็ตยังอยู่บนลวด และไม่มีโอกาสที่จะหลุดออกมา

หากตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าแบร็คเก็ตที่หลุดออกมานั้น ไม่มีทางที่จะหลุดออกมาแล้วแน่ ๆ กรณีแบบนี้ ไม่น่าเป็นห่วงเลยค่ะ เราสามารถรอไปติดในนัดครั้งถัดไปได้เลย

  • กรณี แบร็คเก็ตหลุด ออกมาจากลวด เสี่ยงกลืนลงคอ

เมื่อพบว่ามีแบร็คเก็ตกระเด็นหลุดออกมาจากลวด และมีความเสี่ยงที่จะกลืนลงไป ให้เราเอาแบร็คเก็ตเจ้าปัญหานั้นออกมาเก็บไว้ และนำไปให้หมอฟันติดในนัดครั้งถัดไป

  • กรณีลวดหลุดออกจาก แบร็คเก็ตซี่ในสุด

ถ้าเราลองสังเกตดูดี ๆ จะเห็นว่า แบร็คเก็ตตัวสุดท้าย หรือ แบร็คเก็ตฟันกราม (Tube) จะมีลักษณะแตกต่างจากแบร็คเก็ตตัวอื่น ๆ คือ มีรูตรงกลางเหมือนโดนัท สำหรับสอดลวดเก็บเข้าไป และไม่ได้ถูกรัดด้วยยางโอริง ทำให้หลาย ๆ คนเจอปัญหาลวดหลุดทุกเดือน หรือมีลวดยื่นออกมาทิ่มเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการแปะขี้ผึ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ลวดเสียดสีกับกระพุ้งแก้ม หรือใช้ที่คีบที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว คีบลวดกลับเข้าไปในรูของแบร็คเก็ตตามเดิมได้

  • กรณีลวดทิ่มกระพุ้งแก้ม จนเกิดบาดแผล

การมีบาดแผลเกิดขึ้นในช่องปาก ย่อมมีโอกาสที่แผลจะติดเชื้อได้ง่าย เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเราสำรวจตัวเองแล้วว่ามีปลายลวดยื่นออกมามากกว่าปกติ และมีโอกาสที่จะเสียดสีกับกระพุ้งแก้มจนเกิดบาดแผลได้ ให้เรารีบไปพบทันตแพทย์ใกล้บ้านเพื่อตัดลวดส่วนเกินออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลขนาดใหญ่ หรือไปพบทันตแพทย์ประจำเคส เพื่อติดลวดดัดฟันให้ก่อนเวลานัดก็ได้ค่ะ 

  • กรณีที่กลืนแบร็คเก็ต หรือ กลืนยางจัดฟัน ลงคอไปแล้ว

เมื่อเราเผลอกลืนแบรคเก็ต หรือยางจัดฟันลงไปแล้ว ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะร่างกายของเราจะขับออกมาตามกลไกทางธรรมชาติ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

แม้ว่า ลวดหลุดออกจากเหล็ก เหล็กหลุดทุกเดือน หรือกลืนอุปกรณ์จัดฟัน จะไม่ได้เป็นอันตรายอะไร แต่ก็สามารถทำให้แผนการรักษาถูกเลื่อนออกไปได้นะคะ ซึ่งมันก็จะส่งผลกระทบต่อกันเป็นทอด ๆ คือ จัดฟันเสร็จช้า และมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากแผนการรักษาเดิมเพิ่มขึ้นตามมาด้วยค่ะ

ดังนั้น มาดูทริคสุดปัง! ถ้าไม่อยากเสียงตังเพราะทำแบร็คเก็ตหลุด ควรเลี่ยงสิ่งเหล่านี้กันค่ะ

ทริคสุดปัง ไม่อยากเสียเงิน เพราะทำ แบร็ตเกก็ตหลุด

สาเหตุที่ทำให้เหล็กหลุด แบร็ตเกก็ตหลุด

สาเหตุที่ทำให้เหล็กหลุด

  • ใช้ฟันกัดของแข็งหรือของเหนียว
  • ใช้ลิ้นดุนเครื่องมือจัดฟันแรง ๆ
  • ใช้มือแคะแกะเครื่องมือจัดฟัน
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง ทานอาหารกระแทกโดนลวด
  • แปรงฟันผิดวิธี หรือแปรงฟันแรงเกินไป
  • ใช้ไม้จิ้มฟันอย่างไม่ระมัดระวัง

เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปาก


ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com

เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน


Comments

comments